ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อสังเกต “อาการท้องอืด” จากให้ อาหารสายยาง !  (อ่าน 58 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 899
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
ข้อสังเกต “อาการท้องอืด” จากให้ อาหารสายยาง !
« เมื่อ: วันที่ 7 กันยายน 2024, 21:46:48 น. »
ข้อสังเกต “อาการท้องอืด” จากให้ อาหารสายยาง !

อาหารปั่นผสม อาหารทางสายยาง เป็นอาหารทางการแพทย์ อาหารสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือต้องให้อาหารทางสายยางนั่นเอง การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่ง เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร และช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของร่างกายผู้ป่วยให้เป็นปกติอีกด้วย

ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ การให้อาหารทางสายยางผู้ที่ดูแลและให้อาหาร ควรจะมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของการให้อาหารแก่ผู้ป่วย ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมและอาการของผู้ป่วย หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไป ว่ามีอาการผิดปกติอย่างไรบ้าง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนหรืออาการผิดปกติที่มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ และต้องให้อาหารทางสายยาง คือระบบย่อยอาหารและระบบขับภ่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ดูแลจะต้องสังเกตและระมัดระวัง หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น ท้องอืด หรือแน่นท้อง หลังจากที่ได้รับอาหารควรจะพิจารณาปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น สายยางให้อาหารว่าตันหรือไม่

อาหารปั่นผสมและน้ำที่ให้ทางสายยางสามารถผ่านได้ดีหรือไม่ หรือแตกต่างกันหรือไม่ สังเกตปริมาณอาหารว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยหรือไม่ การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยก็มีความสำคัญในเรื่องของการย่อยอาหาร เพราะอาการดังกล่าว เป็นต้นเหตุทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด แน่นท้องได้ หรือถ้าอาหารมากไป บางทีก็จะให้ไม่ได้ อาจจะทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาเจียนได้ เบื้องต้นสามารถช่วยได้คือ ให้ขยับตัวบ่อยๆ ลุกนั่งบ่อยๆ ก็จะช่วยได้

สำหรับวิธีแก้ไขในเบื้องต้น ผู้ดูแลจะต้องทำการสังเกตอาการก่อน และทำการแก้ไขเบื้องต้นอาจจะมีการสวนช่วย หรืออาจจะให้ยาช่วยถ่ายไปก่อน และหากไม่สามารถฟีดอาหารหรือน้ำลงไปได้ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง บริเวณสายยางมีอาการบวมแดง หรือท้องตึง รวมไปถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะอาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากสาเหตุ การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือมีการตีบตันของสายยางให้อาหาร ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้อีก ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้พื้นฐาน รู้จักสังเกตอาการผิดปกติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันเวลา