ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้  (อ่าน 44 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 703
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้
« เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2024, 22:44:27 น. »
โรคมะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้

มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตของประชากรทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมะเร็งมีอาการลุกลาม ดังนั้นการตรวจพบโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี อย่างไรก็ตามด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและพัฒนามากขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานๆ จึงเรียกชื่อตามต้นกำเนิดของมะเร็งได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bronchogenic Carcinoma (Broncho = หลอดลม Carcinoma = มะเร็ง) ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้ขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็กๆ
ส่วนปลายที่ไกลออกไปจากขั้วปอดก็ได้

    บุหรี่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดสูงถึงร้อยละ 80 – 90% การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า หากผู้ที่สูบบุหรี่จัดหยุดสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลดลงเรื่อย ๆ แต่กว่าจะลดลงจนเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่จะต้องใช้เวลากว่า 10 ปี
    สารพิษ การสัมผัสสารแอสเบสตอส หรือแร่ใยหินซึ่งมักนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค คลัช การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร อุตสาหกรรม สิ่งทอ เหมืองแร่ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ยังทำให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่า นอกจากนี้สารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ สารหนู นิกเกิล โครเมียม และมลภาวะในอากาศ
    โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรคปอดหรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป
    ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การใช้ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ พันธุกรรม


อาการของโรคมะเร็งปอด

1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

    ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
    ไอเป็นเลือด
    หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือ ก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
    เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
    ปอดอักเสบ มีไข้

     แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

 2. อาการของระบบอื่นๆ ได้แก่

    เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
    บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
    เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
    ปวดกระดูก
    กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
    อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
    มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

     ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่โรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นด้วย


การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

    การตรวจคัดกรองในผู้มีความเสี่ยง ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low - Dose Computerized Tomography : LDCT)ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดผู้ป่วยสูงอายุ โรคปอดเรื้อรังและมีญาติเป็นมะเร็งหลายคนซึ่งช่วยในการตรวจพบจุดหรือก้อนมะเร็งปอดขนาดเล็กๆที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการเอกชเรย์ปอดแบบธรรมดาโดยผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตรวจ

     2. การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษโดยแพทย์

    เอกซเรย์ปอด (X-Ray)
    เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
    การตรวจด้วยเครื่องเพท/ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
    การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy) และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
    การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy)
    การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ (CT-Guided Biopsy) เป็นต้น

ข้อมูลจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และสามารถแยกชนิดของมะเร็งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด หรือเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายที่ปอด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการรักษาจำเพาะต่อไป


โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer)

มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 10 - 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด มักมีการดำเนินโรคเร็ว เนื่องจากเป็นชนิดที่แพร่กระจายเร็ว มะเร็งชนิดนี้อาจสร้างสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกาย มะเร็งปอดชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่โอกาสหายขาดยังเป็นไปได้น้อย

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)

มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 75 - 90 ของมะเร็งปอดทั้งหมดมักมีการดำเนินโรคที่ช้ากว่ามีโอกาสตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก หากพบในระยะแรกขั้นตอนของการรักษาหลัก
คือการผ่าตัดเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองออก บางรายอาจให้การรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา หรือการรักษาเสริมอื่นๆ ผลการรักษาดีกว่าชนิดเซลล์เล็ก มีโอกาสหายขาดได้


ระยะของโรคมะเร็งปอด

     1. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ ดังนี้

    ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
    ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

     2. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตรและยังไม่มีการแพร่กระจาย
    ไปยังต่อมน้ำเหลือง
    ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง
    ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ ในข้างเดียวกันหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
    ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกช่องอกไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น


การรักษาโรคมะเร็งปอด

1. การผ่าตัด ใช้สำหรับรักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปไกล หรือมีการกระจายไปเฉพาะต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และไม่มีการลุกลามไปที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกที่พิจารณาก่อนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผ็ป่วยหายขาดจากโรคได้ การผ่าตัดมี 4 แบบ

    การตัดเป็นรูปลิ่ม (Wedge Resection) คือ การผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็ง และเนื้อเยื่อรอบๆ ออก
    การตัดกลีบปอด (Lobectomy) คือ การตัดกลีบปอดออกทั้งกลีบ
    การตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy) คือการตัดปอดทั้งข้าง
    การตัดปอดและส่วนของหลอดลมร่วมออกด้วย (Sleeve Resection) คือ การตัดปอดออกทั้งกลีบร่วมกับการตัดและต่อหลอดลมข้างเคียงของปอดนั้นด้วย โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธี Lobectomy ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง แต่แพทย์อาจเลือกวิธีอื่นๆ ให้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนั้นอาจพิจารณาตัดอวัยวะข้างเคียงออกบางส่วนถ้ามีการลุกลามเฉพาะที่

2. การฉายรังสี เป็นการรักษาเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด โดยมีข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยดังนี้

    ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกในรายที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ มีผลการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด
    ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามเฉพาะที่ (ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด) เป็นการรักษาหลักเพื่อหวังผลหายขาด
    ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ไม่สามารถผ่าตัดได้
    ใช้เป็นการรักษาเสริมก่อน และ/หรือหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะที่ 3 ที่มีข้อบ่งซื้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคเฉพาะที่
    ใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคองในรายที่เป็นระยะลุกลาม เช่น บรรเทาอาการปวดกระดูก บรรเทาการกดทับเส้นเลือด หรือเส้นประสาทที่สำคัญบรรเทาอาการ ในกรณีที่มะเร็งมีการกระจายไปยังสมอง เป็นต้น
    ใช้เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการกระจาย เช่น การฉายรังสีที่ศีรษะ เพื่อป้องกันมะเร็งกระจายมาที่สมอง

3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งโดยการฉีด หรือผสมสารละลายหยุดเข้าทางหลอดเลือด ตัวยาจะผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดและเข้าสู่เซลล์มะเร็งทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้น ข้อดีคือยาเคมีบำบัดสามารถเข้าไปทุกส่วนทั่วร่างกาย ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่จะมีข้อเสียในเรื่องผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นแผลที่เยื่อบุในปาก ท้องร่วง ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาจติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติเป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดในกรณีต่อไปนี้

    ให้ภายหลังการผ่าตัด ในกรณีที่ผลการผ่าตัดพบว่าเป็นในระยะที่ 2 (ระยะที่ 1 ในบางกรณี)
    ให้ร่วมกับการฉายแสง เพื่อรักษามะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่
    ให้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งให้เล็กลง ก่อนพิจารณาการรักษาอื่นๆ ต่อในมะเร็งระยะที่ 3
    ให้เพื่อรักษาประคับประคองโรคระยะลุกลาม หรือกำเริบ
    ทั้งนี้ แพทย์ผู้ดูแลจะประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งความเหมาะสมในการให้การรักษาด้วยยาเคมีในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเสมอ

4.การรักษาโดยให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เป็นการรักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ตัวมะเร็งเป็นหลัก แต่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ต้องมีการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนก่อน ถ้ามีผิดปกติจึงจะใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ เช่น การตรวจ EGFR mutation, ALK Fusion เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้โดยมากเป็นยาในรูปแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเคมีบำบัด

5. การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษามะเร็งแนวใหม่ล่าสุด โดยใช้ยาไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้มาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีผลข้างเคียงน้อย เป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ อาจใช้เพียงลำพังหรือให้ร่วมกับยาตัวอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย


ปัจจัยที่บอกถึงการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด

    ชนิดของมะเร็งที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีการพยาการณ์โรคโดยรวมดีกว่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็กโดยผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกจะมีโอกาสหายขาดมากกว่า และมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยระยะหลังหรือระยะแพร่กระจาย
    ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ มักมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่ร่างกายไม่สมบูรณ์
    การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับการเลือกการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก มีความสำคัญในการพยากรณ์ผลการรักษาของโรคด้วย โดยทั่วไปแพทย์สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ แม้ว่าในบางครั้งอาจจะไม่สามารถช่วยให้
    หายขาดจากโรคได้ก็ตาม

การป้องกันและการปฎิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอด

    หยุดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
    หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ทีๆ มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่ๆมีฝุ่นควันมาก หรือการทำงานในเหมืองแร่โดยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง
    อยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์
    หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
    ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ


มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตของประชากรทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมะเร็งมีอาการลุกลาม ดังนั้นการตรวจพบโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี อย่างไรก็ตามด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและพัฒนามากขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานๆ จึงเรียกชื่อตามต้นกำเนิดของมะเร็งได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bronchogenic Carcinoma (Broncho = หลอดลม Carcinoma = มะเร็ง) ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้ขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็กๆ
ส่วนปลายที่ไกลออกไปจากขั้วปอดก็ได้

    บุหรี่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดสูงถึงร้อยละ 80 – 90% การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า หากผู้ที่สูบบุหรี่จัดหยุดสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลดลงเรื่อย ๆ แต่กว่าจะลดลงจนเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่จะต้องใช้เวลากว่า 10 ปี
    สารพิษ การสัมผัสสารแอสเบสตอส หรือแร่ใยหินซึ่งมักนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค คลัช การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร อุตสาหกรรม สิ่งทอ เหมืองแร่ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ยังทำให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่า นอกจากนี้สารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ สารหนู นิกเกิล โครเมียม และมลภาวะในอากาศ
    โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรคปอดหรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป
    ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การใช้ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ พันธุกรรม


อาการของโรคมะเร็งปอด

1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

    ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
    ไอเป็นเลือด
    หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือ ก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
    เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
    ปอดอักเสบ มีไข้

     แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

 2. อาการของระบบอื่นๆ ได้แก่

    เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
    บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
    เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
    ปวดกระดูก
    กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
    อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
    มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

     ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่โรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นด้วย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

    การตรวจคัดกรองในผู้มีความเสี่ยง ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low - Dose Computerized Tomography : LDCT)ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดผู้ป่วยสูงอายุ โรคปอดเรื้อรังและมีญาติเป็นมะเร็งหลายคนซึ่งช่วยในการตรวจพบจุดหรือก้อนมะเร็งปอดขนาดเล็กๆที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการเอกชเรย์ปอดแบบธรรมดาโดยผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตรวจ

     2. การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษโดยแพทย์

    เอกซเรย์ปอด (X-Ray)
    เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
    การตรวจด้วยเครื่องเพท/ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
    การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy) และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
    การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy)
    การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ (CT-Guided Biopsy) เป็นต้น

ข้อมูลจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และสามารถแยกชนิดของมะเร็งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด หรือเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายที่ปอด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการรักษาจำเพาะต่อไป


โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer)

มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 10 - 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด มักมีการดำเนินโรคเร็ว เนื่องจากเป็นชนิดที่แพร่กระจายเร็ว มะเร็งชนิดนี้อาจสร้างสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกาย มะเร็งปอดชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่โอกาสหายขาดยังเป็นไปได้น้อย

    มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)

มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 75 - 90 ของมะเร็งปอดทั้งหมดมักมีการดำเนินโรคที่ช้ากว่ามีโอกาสตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก หากพบในระยะแรกขั้นตอนของการรักษาหลัก
คือการผ่าตัดเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองออก บางรายอาจให้การรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา หรือการรักษาเสริมอื่นๆ ผลการรักษาดีกว่าชนิดเซลล์เล็ก มีโอกาสหายขาดได้


ระยะของโรคมะเร็งปอด

     1. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ ดังนี้

    ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
    ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

     2. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตรและยังไม่มีการแพร่กระจาย
    ไปยังต่อมน้ำเหลือง
    ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง
    ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ ในข้างเดียวกันหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
    ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกช่องอกไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น


การรักษาโรคมะเร็งปอด

1. การผ่าตัด ใช้สำหรับรักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปไกล หรือมีการกระจายไปเฉพาะต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และไม่มีการลุกลามไปที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกที่พิจารณาก่อนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผ็ป่วยหายขาดจากโรคได้ การผ่าตัดมี 4 แบบ

    การตัดเป็นรูปลิ่ม (Wedge Resection) คือ การผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็ง และเนื้อเยื่อรอบๆ ออก
    การตัดกลีบปอด (Lobectomy) คือ การตัดกลีบปอดออกทั้งกลีบ
    การตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy) คือการตัดปอดทั้งข้าง
    การตัดปอดและส่วนของหลอดลมร่วมออกด้วย (Sleeve Resection) คือ การตัดปอดออกทั้งกลีบร่วมกับการตัดและต่อหลอดลมข้างเคียงของปอดนั้นด้วย โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธี Lobectomy ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง แต่แพทย์อาจเลือกวิธีอื่นๆ ให้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนั้นอาจพิจารณาตัดอวัยวะข้างเคียงออกบางส่วนถ้ามีการลุกลามเฉพาะที่

2. การฉายรังสี เป็นการรักษาเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด โดยมีข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยดังนี้

    ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกในรายที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ มีผลการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด
    ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามเฉพาะที่ (ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด) เป็นการรักษาหลักเพื่อหวังผลหายขาด
    ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ไม่สามารถผ่าตัดได้
    ใช้เป็นการรักษาเสริมก่อน และ/หรือหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะที่ 3 ที่มีข้อบ่งซื้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคเฉพาะที่
    ใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคองในรายที่เป็นระยะลุกลาม เช่น บรรเทาอาการปวดกระดูก บรรเทาการกดทับเส้นเลือด หรือเส้นประสาทที่สำคัญบรรเทาอาการ ในกรณีที่มะเร็งมีการกระจายไปยังสมอง เป็นต้น
    ใช้เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการกระจาย เช่น การฉายรังสีที่ศีรษะ เพื่อป้องกันมะเร็งกระจายมาที่สมอง

3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งโดยการฉีด หรือผสมสารละลายหยุดเข้าทางหลอดเลือด ตัวยาจะผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดและเข้าสู่เซลล์มะเร็งทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้น ข้อดีคือยาเคมีบำบัดสามารถเข้าไปทุกส่วนทั่วร่างกาย ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่จะมีข้อเสียในเรื่องผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นแผลที่เยื่อบุในปาก ท้องร่วง ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาจติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติเป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดในกรณีต่อไปนี้

    ให้ภายหลังการผ่าตัด ในกรณีที่ผลการผ่าตัดพบว่าเป็นในระยะที่ 2 (ระยะที่ 1 ในบางกรณี)
    ให้ร่วมกับการฉายแสง เพื่อรักษามะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่
    ให้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งให้เล็กลง ก่อนพิจารณาการรักษาอื่นๆ ต่อในมะเร็งระยะที่ 3
    ให้เพื่อรักษาประคับประคองโรคระยะลุกลาม หรือกำเริบ
    ทั้งนี้ แพทย์ผู้ดูแลจะประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งความเหมาะสมในการให้การรักษาด้วยยาเคมีในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเสมอ

4.การรักษาโดยให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เป็นการรักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ตัวมะเร็งเป็นหลัก แต่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ต้องมีการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนก่อน ถ้ามีผิดปกติจึงจะใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ เช่น การตรวจ EGFR mutation, ALK Fusion เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้โดยมากเป็นยาในรูปแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเคมีบำบัด

5. การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษามะเร็งแนวใหม่ล่าสุด โดยใช้ยาไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้มาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีผลข้างเคียงน้อย เป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ อาจใช้เพียงลำพังหรือให้ร่วมกับยาตัวอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย