ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี ทำบุญ วัดพระพุทธบาท เที่ยวสระบุรี ฉบับสายบุญ  (อ่าน 55 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 703
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี ทำบุญ วัดพระพุทธบาท เที่ยวสระบุรี ฉบับสายบุญ

สายเที่ยวหลายคน น่าจะเคยไปเที่ยว ไหว้พระใกล้กรุงเทพฯ กันเป็นประจำอยู่แล้วที่ วัดพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งเป็นวัดสำคัญที่มีประเพณีเก่าแก่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานคือ ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท และในปีนี้ ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี เพื่อความเป็นสิริมงคล ตามเราไปสักการะรอยพระพุทธบาท และ เปิดที่มา ประวัติประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท กันค่ะ


วัดพระพุทธบาท

      วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร หรือ วัดพระพุทธบาท สระบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ค่ะ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2167 รัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

     ที่นี่มีปูชยสถานที่สำคัญคือ รอยพระพุทธบาท ประทับบนแผ่นหิน เหนือไหล่ เขาสุวรรณบรรพต หรือ เขาสัจจพันธคีรี ซึ่งมีความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม  พระองค์ทรงเห็นว่าเป็น รอยพระบาทตามลักษณะ 108 ประการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปชั่วคราวครอบรอยพระพุทธบาทไว้ นั่นเอง และต่อมาก็ได้มีการสร้างพระอุโบสถ และพระวิหารต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นมานั่นเอง


ความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพระพุทธบาท

       คติอินเดีย รอยพระพุทธบาท ถือเป็น อุทเทสิกเจดีย์ อย่างหนึ่งซึ่งมาแต่โบราณ โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า เป็นของนับถือแทน พระพุทธรูป ในสมัยก่อนที่ยังไม่นิยมในการสร้างพระพุทธรูป

      คติลังกา เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ไว้ด้วยพระองค์เอง ดังนั้น รอยพระพุทธบาทจึงเป็น บริโภคเจดีย์ อย่างหนึ่งด้วย คือ เป็นของเนื่องในตถาคตเจ้า เหมือนกับ สังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
รอยพระพุทธบาท ซึ่งอ้างกันว่าเป็นรอยที่พระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเหยียบไว้ ด้วยพระองค์เอง มีอยู่ 5 แห่ง และมีตำนานต่างๆ กัน คือ

    เขาสุวรรณมาลิก
    เขาสุมนกูฏ
    เมืองโยนก
    หาดทรายในลำน้ำนัมมทานที
    เขาสุวรรณบรรพต

      และสำหรับ รอยพระพุทธบาท สระบุรี นั้น ก็เป็นรอยพระพุทธบาท ที่ประทับบนแผ่นหินเหนือไหล่ เขาสุวรรณบรรพต หรือ เขาสัจจพันธคีรี ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่งนั่นเอง


ประวัติ ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท

      ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท เป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา นับตั้งแต่แผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เกิดขึ้นสืบต่อกันมาหลังจากมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทแล้ว

      พระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยามักจะเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ทุกๆ ปี และโปรดให้มีงานมหรสพสมโภชน์อีกด้วย โดยงานประเพณีประจำปีจะจัดขึ้น 2 ช่วง คือ

    ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 - วันแรก 1 ค่ำ เดือน 3
    ช่วง วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 - วันแรก 1 ค่ำ  เดือน 4

      อีกทั้งมีความเชื่อกันว่า เมื่อใครได้มากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทแล้ว เสมือนได้กราบนมัสการแทบเบื้องพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะได้รับกุศลอย่างยิ่ง