ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: โรคที่มากับฝุ่นอันตรายถึงชีวิต!!  (อ่าน 84 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 899
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
กระชายพลัส: โรคที่มากับฝุ่นอันตรายถึงชีวิต!!
« เมื่อ: วันที่ 2 พฤษภาคม 2024, 13:22:31 น. »
ความร้ายแรงของฝุ่นที่แฝงมากับสารพิษต่างๆ ที่ร่างกายต้องสูดดมและสัมผัสเข้าไป ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำของคน ผลกระทบก็เกิดกับสุขภาพร่างกายของคน ทำให้เกิดโรคที่มากับฝุ่นอันตรายถึงชีวิต!! มีโรคอะไรกันบ้างและมีวิธีการป้องกันยังไง เอ็มเมดสาระน่ารู้มีมาฝาก

งานวิจัยระบุว่า ฝุ่น PM 2.5 มีสารก่อให้เกิด มะเร็งปอดเป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ใน ผู้หญิง และเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับ ในผู้ชาย และใน 1 ปีคนไทยจะเสียชีวิตจากฝุ่น PM 2.5 ประมาณ 70,000 คนต่อปี สูงเป็น 4 เท่าของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก จากการรายงานองค์การอนามัยโลก

และมีแนวโน้มสูงจากการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นกว่า 200% ตั้งแต่ปี 2559-2562 เนื่องจากประเทศไทยนั้นยังไม่สามารถหาวิธีจัดการกับ ฝุ่น PM 2.5 ให้หายไปได้ รวมทั้งยังไม่มีมาตรการป้องกันหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบแบบจริงจังและมองเห็น ฝุ่น PM 2.5 คือวิกฤติของประเทศแล้ว

องค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) พบว่ามีประชากรถึง 7 ล้านคนเสียชีวิต มากกว่า 90% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และโรคสมอง สาเหตุล้วนมาจากปัญหามลพิษทางอากาศทั้งสิ้น

ฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ โดยผ่านการกรองของขนจมูก เมื่อร่างกายสัมผัส สูดดมเข้าไปจะยังไม่มีอันตรายในทันที แต่จะต้องใช้เวลาสะสมเป็นเวลา 10 ปีถึงจะแสดงอาการ ความร้ายกาจของฝุ่น PM 2.5 คือทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารเคมีต่างๆเข้าสู่ปอด ด้วยการให้สารเหล่านั้นมาเคลือบบนผิวของมัน เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก

ฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวกลางที่จะนำสารที่เป็นอันตรายมาสู่ร่างกายของเรา สะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือไม่มีภูมิต้านทานโรคในช่วงขณะนั้น ก็จะกระตุ้นร่างกายให้เสี่ยงเป็นโรคที่มากับฝุ่น PM 2.5 ดังนี้


โรคภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

ฝุ่น เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะเกิดการระคายเคืองจมูก ส่งผลระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจติดขัด ผื่นคัน ลมพิษคันตา ระคายเคืองตา โดยสารที่เข้าไปในร่างกายกระตุ้นให้ภูมิแพ้กำเริบ


โรคหอบหืด (Asthma)

โรคทางเดินหายใจร้ายแรงจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ เกิดจากการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ร่วมกับการที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งเร้าที่กระตุ้นต่างๆ ฝุ่นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบ อาการหนักมากถึงขั้นหายใจไม่ออก ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้ และร่างกายไม่สามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด


โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)

เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการสูดดม ฝุ่นละออง ควันจากยานพาหนะ ควันจากการสูบบุหรี่ สารเคมีต่างๆ มลพิษทางอากาศเข้าไปในปอดเป็นจำนวนมาก ทำให้เยื่อบุหลอดลม บวม อักเสบ ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบ อากาศไหลเข้าสู่ปอดไม่ดี หายใจลำบาก ส่งผลให้มีอาการไอ ไอแห้ง และไอมีเสมหะ ไอหนักรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก ชายโครง เส้นเลือดฝอยในปอดแตก ส่งผลให้ปอดมีการอักเสบร่วม เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้



โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis)

รู้จักกันดี ปอดบวม นั่นเองเกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด สัมพันธ์จากการติดเชื้อจากโรคทางเดินหายใจจากการสูดดม มลพิษทางอากาศเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หอบหืด ถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ จากภาวะโรคหลอดลมอักเสบ โรคภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิแพ้ อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่พบ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หนาวสั่นได้


โรคเกี่ยวกับสมอง (Encephalopathy)

มลพิษทางอากาสไม่เพียงแต่ก่อปัญหากับระบบทางเดินหายใจหรือที่ปอดแค่นั้น แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กยังซึมผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรงเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง เมื่อเซลล์สมองได้รับความเสียหาย สมองหลั่งสารอักเสบต่างๆ ส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเส้นเลือดสมอง ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ


โรคหัวใจ (Cardiovascular Diseases)

เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ทั้งในและต่างประเทศ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Atherosclerosis) เกิดจากผู้ป่วยที่มีไขมันเกาะตามผนังด้านในหลอดเลือด หลอดเลือดตีบ เมื่อมีการสูดดมฝุ่นละออง หรือมลพิษทางอากาศเข้าไป ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ได้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และเมื่อมลพิษเข้าในกระแสเลือด ไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ ที่เรียกว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและน้ำท่วมปอดได้

เมื่อการดำเนินชีวิต การออกจากบ้านไปทำงานต้องสูดดมมลพิษทางอากาศในทุกๆวัน อย่างเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้สารเคมี สารพิษต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ไม่เพียงแต่ฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนสารพิษแล้ว การรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็งก็มีผลทำให้ร่างกายได้รับความเสียหายเช่นกัน จะมีกี่วิธีที่จะช่วยป้องกันและรับมือเตรียมความพร้อมให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเชื้อก่อโรคต่างๆได้

วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5
สำหรับประชาชนทั่วไป เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์
ติดตามข่าวสารสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 จากช่องทางต่างๆ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นวัดค่าฝุ่น หรือการหาซื้อเครื่องวัดค่าฝุ่นและสารมลพิษทางอากาศต่างๆได้เช่นกัน
สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น เช่น หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน
ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM5 เช่น จุดธูป เผากระดาษเงินกระดาษทอง ปิ้งย่าง เผาใบไม้ เผาขยะร้านค้าแผงลอยปิ้งย่างควรใช้เตาไร้ควัน ไม่ใช้ฟืนหรือถ่านหุงต้มอาหาร
งดทำกิจกรรมภายนอกบ้าน ไม่ควรอยู่นอกบ้านเป็นเวลานาน
สังเกตอาการ หากมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด และเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
ไม่จอดรถและติดเครื่องยนต์ เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
ผู้ที่มีโรคประจำตัวดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ให้รีบพาไปพบแพทย์
เตรียมยาประจำตัวและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
หลังปฏิบัติงาน หรือกลับเข้าบ้านควรอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย ซักเสื้อผ้าที่สวมใส่


สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้ฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย การออกกำลังกายทำให้เพิ่มการหายใจมากขึ้น ปอดและหัวใจจะทำงานหนักขึ้น เมื่อมีมลพิษทางอากาศเข้าไปขัดขวางการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุประเภทกิจกรรมทางกายที่ใช้แรงอย่างหนัก ได้แก่ ปีนเขา วิ่ง ปั่นจักรยาน เล่นฟุตบอล เทนนิส เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในระดับฝุ่นที่เกินมาตรฐานกำหนด

ลดระยะเวลา หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในบริเวณที่มีฝุ่นในช่วงเช้า
ควรออกกำลังกายภายในบ้านก่อนในช่วงที่มีฝุ่นหนาแน่นและอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย
ไม่ใส่หน้ากาก N95 ขณะออกกำลังกายโดยเด็ดขาด
ผู้ที่มีความจำเป็นต้องการออกกำลังกาย การออกกำลังกายในสวนสาธารณะเป็นทางเลือกที่ดีเพราะมีต้นไม้ช่วยกรองฝุ่น

นอกจากวิธีการป้องกันและการหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัส หรือสูดดมมลพิษทางอากาศเป็นจำนวนมากแล้ว การดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว และการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การพักผ่อนให้เพียงพอ การปลูกต้นไม้ที่ช่วยกรองฝุ่น และดูดสารพิษได้ภายในบ้าน เช่น ลิ้นมังกร เดหลี จั๋ง เฟิร์นบอสตัน ปาล์มไผ่ ยังมีการทำความสะอาดภายในบ้านและภายนอกบ้านเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นอีกด้วย

อีกวิธีที่เอ็มเมดสาระน่ารู้ นำมาฝากเพื่อให้เป็นตัวช่วยสำหรับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็มเมดกระชายพลัส จากการคิดค้นจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยมาตรฐาน MST STANDARD ปลอดภัย มีคุณภาพ ตรวจสอบได้

การศึกษาในหลอดทดลอง (งานวิจัยกระชายจากมหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่าสารสำคัญ 2 ชนิด คือ สาร Panduratin A และสาร Pinostrobin ได้จาก สารสกัดกระชายขาวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสได้ สามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อและยับยั้งเซลล์ไม่ให้ผลิตไวรัส เบต้ากลูแคน มีฤทธิ์ปรับเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ และประกอบกับสารสกัดในกลุ่มวิตามินซีและวิตามินบี 1,6,12 ที่ส่งเสริมการทำงานของร่างกาย



กระชายพลัส: โรคที่มากับฝุ่นอันตรายถึงชีวิต!! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/