ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: โรคหัวใจ ใครเสี่ยง? (Heart Disease)  (อ่าน 75 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 899
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: โรคหัวใจ ใครเสี่ยง? (Heart Disease)
« เมื่อ: วันที่ 30 สิงหาคม 2024, 20:51:49 น. »
หมอประจำบ้าน: โรคหัวใจ ใครเสี่ยง? (Heart Disease)

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงร่างกายประมาณ 5 ลิตร/นาที แบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจห้องบนมีจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า “SA-node” ซึ่งจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าขึ้นในหัวใจห้องบน และส่งกระแสไฟฟ้าเคลื่อนไปยัง “AV-node” โดยผ่านเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษ แล้วแผ่ขยายกระแสไฟฟ้าไปทั่วหัวใจห้องล่าง ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างสมบูรณ์ ในขณะพักคนปกติจะมีอัตราการเต้นของหัวใจหรือที่เรียกว่า “ชีพจร” ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที

     โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart Disease) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

    สูบบุหรี่
    มีความดันโลหิตสูง
    มีไขมันในเลือดสูง
    เป็นโรคเบาหวาน
    มีภาวะโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกินปกติ
    มีความเครียด
    ไม่ออกกำลังกาย
    สตรีหลังหมดประจำเดือน
    สตรีที่ทานยาคุมกำเนิด
    รับประทานอาหารเค็มจัด

สัญญาณเตือนของโรคหัวใจ
 1. มีการอาการเจ็บแน่นหน้าอก เช่น

     1.1 บีบเค้นแน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักกดทับ

     1.2 เจ็บหน้าอกร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง

     1.3 เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น

     1.4 เจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที

 2. เหนื่อยง่าย

 3. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง

 4. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก

 5. มีภาวะหัวใจล้มเหลว

 6. ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ

 7. เป็นลมหมดสติ
การปรับพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

 1. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด หรือไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนโต๊ะของน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร รวมถึงกะทิและเนย

 2. ควบคุมค่าความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 3. รักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

 4. ออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางจนถึงหนัก (ทดสอบโดยการร้องเพลงได้แบบไม่ติดต่อกันแต่ยังสามารถพูดได้ปกติ) อย่างน้อย 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 40 - 50 นาทีต่อครั้ง

 5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 6. งดสูบบุหรี่