ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: กล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) รักษาก่อนร้ายแรง  (อ่าน 211 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 898
  • ขายฟรีสินค้าในไทย,ลงประกาศฟรี,ทุกหมวดหมู่,เวบบอร์ดรองรับ SEO
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: กล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) รักษาก่อนร้ายแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายประเภท แต่ที่พบค่อนข้างบ่อยคือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภท MG (Myasthenia Gravis) ซึ่งเกิดขึ้นได้กับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจร้ายแรงกว่าที่คิด

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) คืออะไร

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis : MG) เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจึงเข้าไปยับยั้งการสื่อผ่านกระแสประสาทบริเวณรอยต่อระหว่างปลายประสาทกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มักพบบริเวณดวงตา ปาก ใบหน้า แขน ขา อาจร้ายแรงถึงขั้นกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง เกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) เป็นอย่างไร


อาการที่พบบ่อย ได้แก่

    หนังตาตก ทำให้เห็นภาพซ้อนและโฟกัสภาพไม่ได้
    พูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก
    เคี้ยวหรือกลืนลำบาก สำลักได้ง่าย
    แขนขาอ่อนแรง เคลื่อนไหวไม่สะดวก
    เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง


ตรวจเช็กกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) ได้อย่างไร

หากสงสัยว่าเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) ควรเข้ารับการตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนใหญ่จะเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT Chest) เพื่อหาภาวะต่อมไทมัสโตผิดปกติหรือเนื้องอกต่อมไทมัส  ตรวจระบบประสาท ตรวจการหดตัวของกล้ามเนื้อ ตรวจประเมินหนังตาตก ตรวจหาโรคร่วม และตรวจอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม


วิธีการรักษากล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG)

ปัจจุบันสามารถรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) โดยใช้ยาที่ช่วยลดการทำลายสารสื่อประสาทบริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน สำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกต่อมไทมัสควรต้องเข้ารับการผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีเนื้องอก บางกรณีแพทย์อาจประเมินว่าควรเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากช่วยให้อาการดีขึ้นและลดการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย สิ่งสำคัญเมื่อเป็นโรคนี้คืออย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด


ผ่าตัดส่องกล้องต่อมไทมัสฟื้นตัวไว

การผ่าตัดต่อมไทมัสเดิมจะเป็นการผ่าตัดเปิดกระดูกบริเวณหน้าอกจึงทำให้เจ็บและพักฟื้นนาน แต่ปัจจุบันสามารถผ่าตัดต่อมไทมัสด้วยการส่องกล้อง (Video Assisted Thoracoscopic Surgery; VATS thymectomy) แผลมีขนาดเล็ก พักฟื้นไม่นาน ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการผ่าตัดต่อมไทมัสช่วยให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและคลายความกังวลเมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัด