คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? โรคหัวใจตรวจด้วยวิธีใดได้บ้างโรคหัวใจ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยในผู้ป่วยบางรายมักมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เจ็บหน้าอก หายใจเข้าได้ลำบาก เป็นต้น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? รู้ได้ด้วยวิธีการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้
ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย(Medical history and Physical examination)
การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter Monitoring)
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography)
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 128 slice)
การตรวจหาระดับเอนไซม์ในเลือด (Cardiac enzyme)
การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-Rays)
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ใครบ้างที่ควรตรวจ EST
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ไม่แสดงอาการผิดปกติ
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ
ผู้ที่สูบบุหรี่
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
นักกีฬา เพื่อช่วยให้ทราบว่าควรออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหน และระดับการเต้นสูงสุดของหัวใจเท่าไรจึงจะปลอดภัย