อาหารสายยาง ควรให้บ่อยหรือไม่การได้รับสารอาหารและน้ำมีผลต่อร่างกายของเรา ซึ่งจะต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีความจำเป็นและสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ โดยปริมาณและคุณค่าของอาหารมีผลต่อร่างกายการได้รับอาหารน้อยหรือไม่ มีประโยชน์ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงและได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ นอกจากนี้อาหารคุณมีสุขลักษณะที่ดี มีความสะอาดปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการติดโรคต่างๆ รวมไปถึงส่งผลให้การเจ็บป่วยเรื้อรังนั้น มีอาการที่แย่ลงด้วย รวมไปถึงอาหารที่ต้องให้ทางสายยางกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ตามปกติ อาจจะมีระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารที่ยังสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แต่ก็ต้องมีความสะอาดปลอดภัยและมีสารอาหารคุณประโยชน์ที่มีความเพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกายผู้ป่วย หลายคนเคยสงสัยว่าอาหารทางสายยางนั้น มีอันตรายหรือไม่และควรให้อาหารทางสายอย่างอย่างต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน
วันนี้อาหารปั่นผสม เราจะมาพูดถึงเรื่องของอาหารปั่นผสมว่าควรให้กับผู้ป่วยบ่อยหรือไม่ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาหารปั่นผสมนั้นจะต้องมีการกำหนดในเรื่องของปริมาณและสารอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับอย่างเพียงพอในอาหาร จะต้องประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยบางรายป่วยเป็นโรคที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาหารการกินที่จะได้รับนั้นก็ย่อมแตกต่างกันด้วย
สำหรับการให้ อาหารทางสายยาง นั้น คือการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ โดยการใช้สายยางให้อาหารส่งตรงไปยังกระเพาะอาหารโดยไม่ผ่านการกลืนและอาหารที่มักจะเป็นอาหารที่สามารถย่อยง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน การให้อาหารทางสายอย่างในแต่ละวันนั้น นักโภชนาการจะทำการคำนวณให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย
รวมถึงกำหนดปริมาณอาหารในแต่ละวันเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างปลอดภัยและพอดี สำหรับผู้ป่วยที่ต้องนำกลับไปดูแลที่บ้าน ผู้ดูแลหรือญาติอาจมีคำถามในเรื่องของรายละเอียดเกี่ยวกับการให้อาหารทางสายอย่างแกผู้ป่วยในเรื่องของปริมาณในเรื่องของสารอาหารที่จำเป็นว่าผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารในปริมาณเท่าใดรวมไปถึงสารอาหารจะต้องมีสารอาหารอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง และต้องนำอาหารปั่นผสมไปให้ผู้ป่วยบ่อยแค่ไหน ซึ่งต้องบอกก่อนว่าการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า นักโภชนาการจะเป็นผู้กำหนดว่าผู้ป่วยควรที่จะได้รับสารอาหารในปริมาณเท่าใดและบ่อยมากน้อยแค่ไหน
สำหรับความบ่อยที่ต้องให้อาหารทางสายยางนั้น ผู้ป่วย จะต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น 4 มื้อ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อต่อวัน แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายอย่างนั้นอาจจะแบ่งได้เป็น 4 มื้อ เนื่องจากการให้อาหารในแต่ละครั้งนั้นอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกแน่นท้องหรืออาจจะมีอาการผิดปกติ เนื่องจากได้รับสารอาหารที่มากเกินไปและมีระบบย่อยอาหารที่ทำงานด้านไม่มีประสิทธิภาพมากนัก และเหตุผลที่ต้องให้อาหารผู้ป่วย 4 มื้อ ก็เนื่องจากให้ร่างกายผู้ป่วยได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะได้รับอาหารมื้อต่อไป
นอกจากนี้ การให้อาหารผู้ป่วยก็มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร ในหลายปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วย โดยมีปัจจัยเช่น อายุ เมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นระบบการย่อยอาหารก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาวะปกติ ซึ่งทำให้มีผลต่อระบบการย่อยอาหารต่อมาคือ วัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมของคนไทยนั้น ก็มีผลเช่นกัน การเลือกรับประทานอาหารและการเตรียมอาหาร
นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารหรือการเตรียมอาหารนั้น บ่อยครั้งก็เป็นผลมาจากศาสนา ซึ่งส่วนมากจะเลือกอาหารตามความเชื่อของตนเอง ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องยอมรับในความเชื่อของแต่ละบุคคลด้วย เช่นผู้ที่ นับถือศาสนาอิสลาม อาจจะไม่รับประทานเนื้อหมูหรือบางคนอาจจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ความอยากอาหารก็ส่งผลต่อความต้องการการได้รับสารอาหารเช่นกัน อย่างไรก็ตามความเบื่อหานั้นเกิดได้จากภาวะความเจ็บป่วยยาและภาวะความวิตกกังวล ความปวดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุมักจะมีภาวะความเบื่อหารมากขึ้น
จากการรับรสและการรับกินที่ลดลงจึงต้องมีความจำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง และสุดท้ายคือภาวะความเจ็บป่วยซึ่งความอยากอาหารมักจะลดลงเมื่อเกิดความเจ็บป่วยหรือการฟื้นตัวภายหลังจากการได้รับการผ่าตัด แต่ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะที่ควรได้รับสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อและมีความต้องการสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้นำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายและยังสามารถชดเชยปริมาณเลือดที่สูญเสียไปได้อีกด้วย แม้การสูญเสียสารอาหารจากการอาเจียนหรือท้องเสียก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการชดเชยด้วยยาบางชนิดจึงทำให้มีผลต่อการเกิดแผลในปากทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรับประทานอาหารนั่นเอง